SAVE ภาษีสิ้นปี เพิ่มโอกาสทำกำไรพร้อมลดหย่อนภาษี

สิทธิลดหย่อนภาษีถือเป็นสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้ เพราะเป็นการช่วยให้ผู้เสียภาษีจ่ายภาษีเพิ่มเติมลดลง แล้วยังสามารถได้สิทธิ์รับคืนเงินภาษีได้อีก เป็นการ Save และ ลดภาระทางการเงินได้อีกหนึ่งทาง นอกเหนือจากสิทธิลดหย่อนส่วนตัวแล้วยังมี ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนคู่สมรส และ ค่าลดหย่อนอุปการะพ่อแม่แล้ว เงินสมทบกองทุนประกันสังคม ก็ยังสิทธิ์ลดหย่อนทางภาษีแบบอื่นๆอีก  มาดูกันว่าโค้งสุดท้ายเรายังทำอะไรได้บ้างเพื่อรับสิทธิ์ ลดหย่อนภาษีได้อีกบ้าง

สิทธิลดหย่อนกลุ่มการลงทุน

สิทธิลดหย่อนกลุ่มการลงทุนและการออม เป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยม เพราะนอกจากช่วยเราSaveภาษีได้แล้ว ยังช่วยทำให้เรามีเงินก้อนเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณ

  1. ซื้อกองทุนรวม SSF
    กองทุนรวม SSF  ( Super Savings Fund) เป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว สามารถลงทุนในหลักทรัพทย์ได้ทุกประเภท ไม่กำหนดขั้นต่ำในการซื้อ ไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 200,000 บาท
  2. ซื้อกองทุนรวม RMF
    กองทุนรวม RMF เป็นการลงทุนในหลักทรัพทย์ เมื่อเริ่มซื้อแล้ว ต้องซื้อต่อเนื่องอย่างน้อยปีเว้นปี ซื้อได้ไม่เกิน 30%ของรายได้ทั้งปีและไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ
  3. ซื้อกองทุน SSFX
    กองทุน SSFX (สำหรับคนที่ซื้อกองทุนระหว่างวันที่ 1 เม.ย. – 30 มิ.ย. 63) สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยไม่รวมกับวงเงินของ SFF แบบปกติ
  4. การออมเพื่อการเกษียณ
    เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท
  5. กองทุนการออมแห่งชาติ
    เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ  สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 13,200 บาท

ซื้อประกันและกองทุน ลดหย่อนภาษีได้ง่ายๆ

กองทุนรวม SSF&RMF

กับ Ascend Wealth บนทรูมันนี่ วอลเล็ท
ลงทุนกองทุนดีๆ จากหลากหลายบลจ.ได้ในที่เดียว

สิทธิลดหย่อนแบบประกัน

เป็นอีกหนึ่งกลุ่มสิทธิลดหย่อนที่ได้รับความนิยมเช่นกัน เพราะนอกจากจะได้รับการคุ้มครองดูแลในอนาคตที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเราแล้ว ก็ยังสามารถนำเงินค่าเบี้ยประกันภัยแต่ละประเภทไปยื่นขอสิทธิลดหย่อนภาษีได้ด้วย

  1. ประกันชีวิตทั่วไป
    เบี้ยประกันชีวิต ใช้เป็นลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลาถือครองกรมธรรม์ 10 ปี ขึ้นไป
  2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
    ประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้ สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท (เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ เมื่อรวม SSF+RMF+เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ + กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน + เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท)
  3. ประกันสุขภาพ
    เบี้ยประกันสุขภาพ ใช้เป็นลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ระยะเวลาถือครอง 1 ปีกรมธรรม์ แต่อย่าลืมแจ้งบริษัทประกันว่าต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย เพื่อให้บริษัทประกันทราบและนำส่งข้อมูลเบี้ยประสุขภาพให้แก่สรรพกร และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไปต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ เราสามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยที่พ่อหรือแม่ของเราต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และประกันสุขภาพต้องมีความคุ้มครองตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ดังต่อไปนี้

    • แบบประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
    • แบบประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
    • แบบประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
    • แบบประกันภัยอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก

ประกันโรคมะเร็ง

รับประกันโดย บมจ. เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย

ประกันสะสมทรัพย์

รับประกันโดย บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต

สิทธิลดหย่อนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

  1. การบริจาคให้องค์กรการกุศล หรือสนับสนุนการศึกษา
    เงินบริจาคทั่วไป สามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 10 % ตามที่จ่ายจริง แต่ทั้งนี้การบริจาคเงินให้วัดที่ก่อตั้งในต่างประเทศนั้นไม่สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้
  2. มาตรการช้อปดีมีคืน
    ช้อปดีมีคืนเป็นมาตรการรัฐที่กำหนดให้ประชาชน ผู้มีเงินได้ซี่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีจากค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศ ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน ประเภทสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ค่าอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหาร ร้านกาแฟ, สินค้า OTOP, เปลี่ยนยางรถยนต์ น้ำมันเครื่อง ซ่อมรถยนต์ เข้าศูนย์ตรวจเช็คสภาพรถ (ต้องเข้ารับบริการและซ่อมเสร็จในช่วงวันที่ 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 และทางร้านต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปได้ จึงใช้สิทธิ์ได้)

แหล่งข้อมูล: muangthai,SET