แน่ะๆๆๆๆๆ กำลังมองหาสินค้าประกันเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีของปี 2565 เพื่อเตรียมให้พร้อมก่อนนำไปยื่นในปี 2566 กันอยู่สินะ
ผู้มีรายได้ทุกคนควรจะประเมินรายได้ และคำนวณอัตราการเสียภาษี เพื่อเลือกซื้อประกันให้ตรงและเหมาะสมกับตัวเองกันน้า
หลายคนอาจยังสงสัยอยู่ว่าประกันแบบไหน ถึงจะได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี รวมถึงลดหย่อนได้เท่าไร เงื่อนไขต่างๆ มีอะไรบ้าง
เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลย
ประเภทของประกันที่ลดหย่อนภาษีได้ มีดังนี้
- ประกันชีวิต
- ประกันสุขภาพ
- ประกันสุขภาพของบิดา มารดา
- ประกันชีวิตแบบบำนาญ
เพื่อนๆ สามารถหาสินค้าประกันลดหย่อนภาษีบนทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้แล้ววันนี้!!
ประกันชีวิต | ชีวิตสบาย จ่ายเบี้ยแค่ครั้งเดียว รับผลประโยชน์สูงสุด 112% | MTL 11/1 จากเมืองไทยประกันชีวิต |
จ่ายเบี้ยน้อยปี แต่คุ้มครองยาวนาน พร้อมรับเงินคืน 350% | Easy E-SAVE 10/5 จากเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต | |
ประกันสุขภาพ | คุ้มครองแบบเหมาจ่าย คุ้มครองหลักล้าน ไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน ครอบคลุมทั้ง IPD/OPD | Gen Health Lump Sum Plus จากเจนเนอราลี่ |
ซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง เลือกได้ทั้ง IPD และ OPD | ประกันสุขภาพออนไลน์ จากกรุงเทพประกันภัย | |
เจอ จ่าย จบ! เมื่อพบโรคร้าย รับเงินก้อนสูงสุด 500,000 บาท | ประกันภัยโรคร้ายแรง จากไทยศรีประกันภัย | |
ประกันสุขภาพของ บิดา มารดา |
ประกันแบบเอ็กซ์ตร้า คุ้มครองนานสูงสุดถึงอายุ 85 ปี ไม่ต้องตรวจสุขภาพ วงเงินคุ้มครองสูงสุด 1,000,000 บาท | Gen Senior Extra 7 จากเจนเนอราลี่ |
ประกันชีวิต ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท
ประกันชีวิต ประกันที่ให้ความคุ้มครองหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันกับผู้เอาประกันภัย โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามทุนประกันที่ทำไว้แก่ผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ เช่น สามีภรรยา บุคคลในครอบครัว เป็นต้น ซึ่งประกันชีวิตที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, ประกันชีวิตแบบ Unit-Linked, ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) เป็นต้น
เกณฑ์ลดหย่อนภาษี
- ลดหย่อนภาษีได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และหากรวมกับเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- กรณีทำประกันชีวิตให้คู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ซึ่งต้องเป็นคู่ที่แต่งงานกันมาตลอดทั้งปี ไม่ได้เพิ่งแต่งปีนี้ สามารถลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
- กรมธรรม์ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ถ้ามีการจ่ายเงินคืนเงินปันผลหรือผลตอบแทนระหว่างสัญญา จะต้องได้รับเงินคืนไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยรายปี ทั้งนี้ ถ้าได้รับเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น จ่ายคืนทุก 3 ปี หรือ 5 ปี ยอดเงินคืนจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันภัยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
- ประกันชีวิต แบบ Unit-Linked สามารถลดหย่อนภาษีได้เฉพาะในส่วนของการประกันชีวิต ส่วนของการลงทุนไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
- ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
แบบประกันชีวิตที่หาซื้อได้บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้แก่ MTL 11/1 จากเมืองไทยประกันชีวิต และ Easy E-SAVE 10/5 จากเอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท
ประกันสุขภาพ เรียกได้ว่าเป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่คอยดูแลค่ารักษาพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นค่าห้อง ค่ายา ค่าหมอ และค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ต่าง ๆ ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยที่ไม่ต้องควักเงินเก็บเพื่อนำมาจ่ายเอง นอกจากนี้รู้หรือไม่ว่าเบี้ยประกันสุขภาพนั้นสามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน ซึ่งแบบประกันที่สามารถนำไปใช้สิทธิได้มีดังนี้
- แบบประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล อันเกิดจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บ การชดเชยการทุพพลภาพ และการสูญเสียอวัยวะ เนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
- แบบประกันภัยอุบัติเหตุ เฉพาะที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
- แบบประกันภัยโรคร้ายแรง (Critical Illnesses)
- แบบประกันภัยการดูแลระยะยาว (Long Term Care)
เกณฑ์ลดหย่อนภาษี
- ลดหย่อนได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี
- ประกันโควิดก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีในส่วนนี้ได้เช่นกัน
- ประกันสุขภาพประเภท UDR (Unit Deducting Rider) ซึ่งเป็นประกันสุขภาพที่ซื้อพ่วงกับประกันชีวิตแบบ Unit-Linked ก็จะนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน แต่เฉพาะส่วนที่เป็นค่าธรรมเนียมเพื่อความคุ้มครองสุขภาพเท่านั้น
- เมื่อรวมเบี้ยประกันสุขภาพเข้ากับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
- ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
แบบประกันสุขภาพที่หาซื้อได้บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้แก่ ประกันสุขภาพ Gen Health Lump Sum Plus จากเจนเนอราลี่ , ประกันสุขภาพออนไลน์ จากกรุงเทพประกันภัย และ ประกันโรคร้ายแรง จากไทยศรีประกันภัย
ประกันสุขภาพของบิดา มารดาลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท
ประกันสุขภาพของบิดา มารดา ประกันที่ตอบโจทย์ช่วยเพิ่มความอุ่นใจให้กับพ่อแม่ของเรา หมดความกังวลกับค่ารักษา หากในยามที่ท่านเจ็บป่วย หรือไม่สบาย ยังมีประกันสุขภาพที่ช่วยคุ้มครองครอบคลุมการรักษา ไม่ส่งผลกระทบต่อเงินเก็บ และที่สำคัญเป็นอีกหนึ่งในประกันที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียดดังนี้
เกณฑ์ลดหย่อนภาษี
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา เราสามารถนำมาใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี
- บิดามารดามีรายได้ทั้งปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
- ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย (บุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธินี้ได้)
- ในกรณีที่ลูกๆ ช่วยกันจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย การขอใช้สิทธิลดหย่อนจะถูกหารตามจำนวนพี่น้องที่ร่วมกันจ่าย เช่น หากมีพี่น้อง 3 คน ร่วมกันทำประกันสุขภาพให้บิดามารดา ลูกแต่ละคนจะขอใช้สิทธิลดหย่อนได้ไม่เกิน 5,000 บาท จากจำนวนเต็ม 15,000 บาท
- ตัวเราเองหรือบิดา/มารดาท่านใดท่านหนึ่งจะต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น
- ถ้าคู่สมรสไม่มีรายได้ตลอดปีภาษีนั้น เราสามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาคู่สมรส มาใช้ลดหย่อนได้เช่นเดียวกัน
แบบประกันสุขภาพบิดามารดา ที่หาซื้อได้บนทรูมันนี่ วอลเล็ท ได้แก่ ประกันสุขภาพ Gen Senior Extra 7 จากเจนเนอราลี่
ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนได้สูงสุด 300,000 บาท
ประกันชีวิตแบบบำนาญ หนึ่งในประกันเพื่อการออมที่เน้นผลตอบแทนมากกว่าความคุ้มครอง ซึ่งหากใครอยากวางแผนถึงเงินเก็บในอนาคตของชีวิตหลังวัยเกษียณ ประกันชีวิตแบบบำนาญถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้าม และไม่ได้จ่ายคืนในระหว่างทางที่ทำเหมือนประกันออมทรัพย์ แต่จะเป็นการจ่ายคืนให้ในรูปแบบของ “เงินบำนาญ” ทุก ๆ ปี หรือทุก ๆ เดือน ตั้งแต่เริ่มเกษียณ (อายุ 55 ปีเป็นต้นไป) จนถึงอายุที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ที่สำคัญเราสามารถนำเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญมาลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย รายละเอียดมีดังนี้
เกณฑ์ลดหย่อนภาษี
- ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 300,000 บาท หากไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับประกันชีวิตแบบทั่วไป เราสามารถแบ่งเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญไปหักลดหย่อนแทนเบี้ยประกันชีวิตแบบทั่วไปให้ครบ 100,000 บาท ก่อนได้ จากนั้นจึงนำเบี้ยประกันชีวิตส่วนที่เหลืออีก 200,000 บาท ไปหักลดหย่อนในเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
- เมื่อรวมกับ RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ และ SSF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กรมธรรม์ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ต้องจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ กำหนดช่วงอายุการจ่ายเงินผลประโยชน์ตั้งแต่ 55-85 ปี หรือมากกว่านั้น และเราต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบก่อนได้รับผลประโยชน์
- ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตในประเทศไทย
ที่มา: Finnomena