3 ขั้นตอนวางแผนลดหย่อนภาษี ที่ทุกคนควรรู้
ก้าวเข้าสู่ไตรมาสสุดท้ายของปีกันแล้ว ใครยังไม่ได้วางแผน ลดหย่อนภาษี 2565 กันบ้าง รู้หรือไม่ว่าสิทธิลดหย่อนภาษีที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น SSF RMF หรือ ประกันชีวิต เพียงแค่เรา เลือกลงทุนให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเอง วันนี้บลน.แอสเซนด์ เวลธ์ จะพาไปดู 3 ขั้นตอนการวางแผนลงทุนเพื่อให้ได้ผลในการประหยัดภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 1 ประเมินเงินได้เพื่อคำนวณภาษี
อันดับแรก เราควรประมาณตัวเลขคร่าวๆ ดูก่อนว่าในปีนี้เรามีรายได้ หรือที่เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” เท่าไร เป็นเงินได้ประเภทไหนบ้าง เช่น เงินเดือน ค่านายหน้า เบี้ยประชุม ดอกเบี้ย เงินปันผล ฯลฯ เนื่องจากเงินได้แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เท่ากัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 1 คือ เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส และประเภทที่ 2 เช่น ค่านายหน้า เบี้ยประชุม ตรงนี้จะหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท นอกจากนี้ยังหักค่าลดหย่อนส่วนตัวได้อีกคนละ 60,000 บาท เมื่อรวมรายได้ทั้งหมด พร้อมกับหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนส่วนตัวแล้ว จะเหลือเป็น “เงินได้สุทธิ”
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษี >> set.or.th
ขั้นตอนที่ 2 หาตัวช่วยประหยัดภาษี
เชื่อว่าหลายคนเมื่อได้ลองคำนวณภาษีดูแล้วจะตกใจมิใช่น้อย กับภาษีที่เราจะต้องเสียไป แต่ไม่ต้องกังวลใจไป บลน.แอสเซนด์ เวลธ์ มีคำแนะดำดีๆ ในการประหยัดภาษีมาให้ เราสามารถลดภาระภาษีได้ด้วยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีนอกเหนือจากค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท ซึ่งมีให้เลือกอยู่หลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น
- กรณีมีคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ หรือมีเงินได้แต่เลือกนำมาคำนวณภาษีพร้อมกัน : สามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท
- กรณีมีบุตร : สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท/บุตร 1 คน โดยไม่จำกัดจำนวนบุตร (ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)
- กรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดา-มารดา หรือบิดา-มารดาของคู่สมรส : สามารถหักลดหย่อนภาษีได้ 30,000 บาท/คน สูงสุด 4 คน รวม 120,000 บาท (ตามเงื่อนไขของกรมสรรพากร)
- ประกันสังคม : หักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 5,100 บาท (จากปกติ 9,000 บาท)
- เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์: ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 100,000
- เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ: ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับประกันชีวิต ต้องไม่เกิน 100,000 บา
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) : ลงทุนได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : หักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมิน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการมีที่อยู่อาศัย : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินบริจาคทั่วไป: ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐ: สามารถนำมาลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง สูงสุดไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนภาษี
- เงินบริจาคเพื่อการกุศลอื่น ๆ : ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง
*ผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ช่วยลดหย่อนภาษี: ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) นักลงทุนสามารถซื้อ ครบจบได้ในแอปทรูมันนี่ วอลเล็ท
ขั้นตอนที่ 3 วางแผนการออมและการลงทุน เพื่อลดหย่อนภาษี
จากข้อมูลข้างต้น ใครที่ยังใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไม่ครบบ้างคะ ทั้งสิทธิขั้นพื้นฐานที่เราได้อยู่แล้ว และใช้สิทธิลดหย่อนเพิ่มเติมจากการออมและลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และประกันชีวิต บลน.แอสเซนด์ เวลธ์ แนะนำให้ลองโดยคำนวณเงินที่จำเป็นต้องใช้ และแบ่งส่วนเงินเก็บระยะยาวเอามาลงทุนในส่วนที่สามารถใช้ในการลดหย่อนภาษีได้เพียงเท่านี้เราก็จะได้ทั้งเงินออมและได้ประหยัดภาษี
เริ่มต้นง่ายๆ แค่ประเมินว่าว่าจะใช้สิทธิเป็นจำนวนเงินอย่างละเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม กับฐานะการเงินของเรา ไม่ควรออมและลงทุนมากเกินไปจนลืมสำรองเงินสดไว้เผื่อกรณีฉุกเฉิน อีกทั้งควรลงทุนภายใต้เงื่อนไขวงเงินลดหย่อนภาษี คือ ซื้อกองทุน SSF ต้องไม่เกิน 200,000 บาท และ RMF ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และเมื่อนับรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/กบข., กองทุนการออมแห่งชาติ, ประกันชีวิตแบบบำนาญ ต้องรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
สุดท้ายนี้ เช็กลิสต์ ลดหย่อนภาษี 2565 กองทุน SSF และ RMF นับเป็นอีกตัวช่วยสำหรับคนที่อยากลงทุนและได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไปพร้อมๆ กัน ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายกองทุน และจากหลากหลายบลจ.ชั้นนำ สามารถเปิดบัญชี พร้อมซื้อกองทุนกับบลน.แอสเซนด์ เวลธ์ บนแอปทรูมันนี่ วอลเล็ทได้ง่ายๆโดยไม่ต้องใช้เอกสารให้ยุ่งยาก
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กองทุนลดหย่อนภาษี กับ บลน.แอสเซนด์ เวลธ์
ข้อดีของการซื้อกองทุนผ่านบลน. แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด
- สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ทุกที ตลอด24 ชั่วโมง และดูพอร์ตการลงทุนได้ตลอดเวลา
- ค่าธรรมเนียม ซื้อ-ขายเท่ากับซื้อตรงกับ บลจ.
- เงินจากการขายกองทุนจะเข้าที่ทรูมันนี่ วอลเล็ท
ที่มาข้อมูล และรูปภาพ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำเตือน
- กองทุนมีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน
- ผลการดำเนินงานในอดีต / ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต