รวมวิธีแจ้งขอใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุนรวม 

ทุกๆ สิ้นปี เพื่อนๆ นักลงทุนที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี SSF/RMF ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานรับรองสิทธิการซื้อกองทุน ไว้ใช้ยื่นต่อกรมสรรพากร ณ ต้นปีถัดไป

กรมสรรพากรมีประกาศเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ! สำหรับเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน SSF หรือ RMF ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์ใช้สิทธิในการลดหย่อนภาษี จะต้องแจ้งความประสงค์ในการส่งข้อมูลการซื้อหน่วยลงทุนของตน ต่อบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเท่านั้น

เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของท่าน โปรดแจ้งความประสงค์ต่อบลจ. ที่ผู้ลงทุนได้ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี SSF/RMF ภายในวันทำการสุดท้ายของรอบปีภาษี (ภายในเดือนมกราคม 2567) เพื่อให้มีผลตั้งแต่รอบปีภาษีที่ท่านแจ้งไว้เป็นต้นไป หากแจ้งความประสงค์หลังจากนี้อาจมีผลให้ผู้ลงทุนได้รับการคืนภาษีล่าช้า

โดยบลน. แอสเซนด์ เวลธ์ ได้รวบรวมลิกค์การแจ้งความประสงค์ช่องทางออนไลน์ของบลจ.ต่างๆ มาเพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อนนักลงทุนให้แล้ว ดังต่อไปนี้

ABERDEEN (บลจ. อเบอร์ดีน)

ASSETFUND (บลจ. แอสเซท พลัส)

DAOL INVESTMENT (บลจ. ดาโอ)

EASTSPRING (บลจ. อีสท์สปริง)

KAsset (บลจ. กสิกรไทย)

*ข้อมูลเลขที่บัญชีกองทุนของ บลจ.กสิกรไทย มี 14 หลัก หากเลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุนของท่านมีเพียง 12 หลัก โปรดแก้ไขด้วยการเติมเลขศูนย์ด้านหน้า 2 ตัว

KKPAM (บลจ. เกียรตินาคินภัทร)

KSAM (บลจ. กรุงศรี)

KWIAM (บลจ. เคดับบลิวไอ)

MFC (บลจ. เอ็มเอฟซี)

ONEAM (บลจ. วรรณ)

Principal (บลจ. พรินซิเพิล)

SCBAM (บลจ. ไทยพาณิชย์)

TALISAM (บลจ. ทาลิส)

UOBAM (บลจ. ยูโอบี)

ลิงก์แจ้งความประสงค์ https://www.uobam.co.th/th/Certificate/TaxConsent

วิธีการตรวจสอบ เลขที่ผู้ถือหน่วยลงทุน/เลขที่บัญชีกองทุน

สำหรับลูกค้า Ascend Wealth ท่านสามารถตรวจสอบได้จากอีเมล “แจ้งผลการจัดสรรคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนสำเร็จ” ในข้อมูลบรรทัด “เลขที่หน่วยลงทุน” ตัวอย่างรายละเอียดตามรูปแนบ

หมายเหตุ

  • บลจ.ส่วนใหญ่จะรับแจ้งความประสงค์ โดยอ้างอิงจากเลขที่บัตรประชาชน หมายความว่า หากนักลงทุนมีซื้อกองทุนลดหย่อนภาษีกับบลจ.หนึ่งๆ ผ่านหลายช่องทาง การแจ้งความประสงค์เพียงครั้งเดียวต่อบลจ. จะมีผลกับกองทุนที่ซื้อผ่านทุกๆช่องทาง
  • การแจ้งความประสงค์ครั้งนี้เป็นการแจ้งความประสงค์เพียงครั้งเดียวต่อบลจ. จนกว่าผู้ลงทุนจะแจ้งเปลี่ยนความประสงค์เป็นอย่างอื่น ทั้งนี้บลจ.จะยึดข้อมูลการแจ้งความประสงค์ตามที่ล่าสุดที่ผู้ลงทุนให้ไว้

ข้อมูลอ้างอิง

  • ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 414) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนและการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Link :  https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dg414.pdf)

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 415) เรื่อง กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สําหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (Link : https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dg415.pdf)

สำหรับอีกหลายๆ ที่คนกำลังศึกษาข้อมูล วางแผนลดหย่อนภาษีผ่านกองทุน SSF และ RMF ในปี 2566 สะดวกง่าย รวดเร็ว สามารถเปิดบัญชี พร้อมซื้อกองทุนกับบลน.แอสเซนด์ เวลธ์ บนแอปทรูมันนี่ วอลเล็ทได้ง่ายๆโดยไม่ต้องใช้เอกสารให้ยุ่งยาก มีให้เลือกหลากหลายกองทุน จากหลากหลายบลจ.ชั้นนำ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ กองทุนลดหย่อนภาษี กับ บลน.แอสเซนด์ เวลธ์

ข้อดีของการซื้อกองทุนผ่านบลน. แอสเซนด์ เวลธ์ จำกัด 

  • สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้ทุกที ตลอด24 ชั่วโมง และดูพอร์ตการลงทุนได้ตลอดเวลา
  • ค่าธรรมเนียม ซื้อ-ขายเท่ากับซื้อตรงกับ บลจ.
  • เงินจากการขายกองทุนจะเข้าที่ทรูมันนี่ วอลเล็ท

คำเตือน

• กองทุนมีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และสิทธิประโยชน์ทางภาษีก่อนตัดสินใจลงทุน

• การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงการลงทุน